หน้าหลักเว็บบอร์ด > ลป.บัว ถามโก วัดศรีบุรพาราม เกาะตะเคียน จ.ตราด เหรียญรุ่น ๑ เขียนกระทู้ใหม่
ลป.บัว ถามโก วัดศรีบุรพาราม เกาะตะเคียน จ.ตราด เหรียญรุ่น ๑
 
 

เหรียญรุ่น 1 หลวงปู่บัว ถามโก

วัดศรีบูรพาราม เกาะตะเคียน จ.ตราด

สุดยอดเถราจารย์แห่งภาคตะวันออกในปัจจุบันครับ

สภาพเยี่ยมไม่ผ่านการใช้ครับ

หายากแล้วครับ

สนใจ 087-6055841

**********************

 

 

เหรียญหลวงปู่บัวรุ่นแรกยันต์มหาโสฬสมงคล

 

                 "หลวงปู่บัว ถามโก" หรือ พระครูสังฆกิจบูรพา เจ้าอาวาสวัดศรีบูรพาราม หรือวัดเกาะตะเคียน หมู่ ๑ ต.วังกะแจะ อ.เมือง จ.ตราด เป็นพระเกจิอาจารย์ที่กำลังมาแรงที่สุดท่านหนึ่ง ณ ขณะนี้ โดยมีลูกศิษย์ได้ตั้งฉายานามว่า  "เทพเจ้าแห่งโชคลาภภาคตะวันออก"
     
                เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ วัดได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตนั้น ใครเลยจะคิดว่า เหรียญที่สร้างเพื่อแจกญาติโยมที่ไปร่วมงานปิดทอง ชนิดที่เรียกว่าใครทำบุญ ๕ บาท ๑๐ บาท ก็จะได้รับมอบเหรียญเป็นที่ระลึก ๑ เหรียญ บางรายอาจจะขอไปฝากลูกหลาน หลวงปู่ก็แจกให้ วันนี้มีการเช่าหากันหลักหมื่นต้นๆ และมีการทำของปลอมออกมาขายจำนวนมาก
   
                อย่างไรก็ตามผู้ที่สะสมเหรียญรุ่นนี้ส่วนใหญ่เข้าใจว่า ยันต์ที่ปรากฏหลังเหรียญ เป็นยันต์มหาโสฬสมงคล ของหลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม แห่งวัดสะพานสูง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะเป็นยันต์ตามตำราของ อ.เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งมีชื่อเรียกที่คล้ายกัน คือ "ยันต์โสฬสมหามงคล"
   
                ความเหมือนกันของยันต์มหาโสฬสมงคล กับ ยันต์โสฬสมหามงคล ๘๐ เปอร์เซ็นต์ จะเป็นเลขยันต์ชุดเดียวกัน แต่เอกลักษณ์ของหลวงปู่เอี่ยมที่เด่นชัด คือ มีรูปพระปิดตาอยู่กึ่งกลาง โดยในช่องนั้นจะมีคาถาพระเจ้า ๕ องค์ ที่ว่า นะ โม พุท ธ า ยะ ทั้ง ๔ มุม จะกำกับด้วยหัวใจพระไตรปิฎกที่ว่า มะ อุ อะ กำกับไว้
     
                ยันต์โสฬสมหามงคลในตำรับ ของ อ.เทพย์ เป็นมหายันต์ที่เกิดจากการนำเอายันต์ ๓ ชนิดมารวมกันไว้ โดยใช้ตัวเลขแทนด้วยความหมายมงคลต่างๆ จากภาพ ตรงกลางช่องเล็ก ๙ ช่อง คือ ยันต์ จตุโร ถัดมาวงกลาง เป็นยันต์สูตรตรีนิสิงเห และด้านนอกสุด เป็น ยันต์อริยสัจโสฬส  แต่ละตัวมีความหมาย ดังนี้
   
                ๑.ยันต์จุโร (เลขรอบใน)  ประกอบด้วยหมายเลข "๔ ๙ ๒ ๓ ๕ ๗ ๘  ๑ ๖" แต่ละตัวมีความหมายดังนี้ ๔ หมายถึง จัตตุโร ๙ หมายถึง นวโม ๒ หมายถึง  ทะเวโช ๓ หมายถึง ตรีนิสิงเห ๕ หมายถึง ปัจจะ ๗ หมายถึง สัตตะ ๘ หมายถึง  อัตตถะ ๑ เอกะ หมายถึง  และ ๖ หมายถึง ฉะวัชชะราชา
   
                ๒.ยันต์ตรีนิสิงเห ประกอบด้วยหมายเลข "๓  ๗ ๕ ๔ ๖ ๕ ๑ ๙ ๕ ๖ ๒ ๘ ๕"แต่ละตัวมีความหมายดังนี้ ๓ หมายถึง  ตรีนิสิงเห  ๗ หมายถึง สัตตะนาเค ๕ หมายถึง  ปัจจะเพชรฉลูกันเจวะ ๔ หมายถึง  จตุเทวา ๖ หมายถึง  ฉะวัชชะราชา ๕ หมายถึง  ปัจจะอินทรานะเมวะจะ ๑ หมายถึง  เอกฃะยักขา ๙ หมายถึง นะวะเทวา ๕ หมายถึง  ปัจจะพรหมมาสหบดี ๖ หมายถึง  ฉะวัชชะราชา ๒ หมายถึง  ทะเวราชา ๘ หมายถึง อัฏฐะอะระหันตา และ ๕ หมายถึง ปัจจะพุทธานะมามิหัง
   
                ๓.ยันต์โสฬส (เลขรอบนอก) ประกอบด้วยหมายเลข "๑๖ ๙ ๔ ๕ ๓ ๖ ๑๕ ๑๐ ๑๓ ๑๒ ๑ ๘ ๒ ๗ ๑๔ ๑๑" แต่ละตัวมีความหมายดังนี้  ๑๖ หมายถึง  โสฬะสะมังคัลํญเจวะ ๙ หมายถึง นวโลกุตะระธัมมะตา ๔ หมายถึง  จัตตาโรจัตมหาทีปา ๕ หมายถึง ปัจจะพุทธามหามุนี ๓ หมายถึง ตรีปิฏะกะธัมมักขันธา ๖ หมายถึง ฉะกามาวะจะราตะถา ๑๕ หมายถึง ปัญจะทะสะภะเวสัจจัง ๑๐ หมายถึง ทะสะมังสิละเมวะจะ
     
                ๑๓ หมายถึง เตรัสสะธุตังคาจะ  ๑๒ หมายถึง ปฏิหารัญจะทะวาทะสะ ๑ หมายถึง เอกะเมรุจะ ๘   สุราอฏฐะ ๒ หมายถึง ทะเวจันทังสุริยังสัคคา ๗ หมายถึง สัตตะโพชฌังคาเทวะ ๑๔ หมายถึง  จุททัสสะจักกะวัตติจะ และ ๑๑ หมายถึง  เอกาะสะวิษะณุราชา ตามด้วยคาถาบทสุดท้ายซึ่งเป็นสูตรลงศฬสมงคลรอยนอก ที่ว่า "สัพเพเทวา มังปาละนันตุสัพพะทา เอเตนะมังคะละเชนะ สัพพะโสตถีภะวันตุเม"
   
                ส่วนยันที่ปรากฏทั้ง ๔ ด้านมีดังนี้ ด้านบน แถวนอก ประกอบด้วย "สักกัสสะวชิราวุธทัง" หมายถึง "พระอินทร์มีสายฟ้าเป็นอาวุธ" แถวใน "อา ยัน ตุ โพน โต อิ ทะ ทา นะ สรี ละ เน" หมายถึง การทำทาน รักษาศีล
   
                ด้านขวาของผู้อ่าน แถวนอกอ่านว่า "ยมมัสสะนัยยะนาวัธทัง" หมายถึง "พยายมมีดวงตาเป็นอาวุธ" แถวในซึ่งเป็นยันต์ที่ต่อจากแถวในด้านบน อ่านว่า "เนกขัมมะ ปัญญา สะหะวิริยะ ขันติ สัจจา" หมายถึง ให้ปฏิบัติเยกขัม ให้มีความพยายาม ขันติ ให้มีปัญญา และสัจจะ
   
                ด้านล่าง แถวนอกอ่านว่า "เวสสุวัณณะสะ คทาวธทัง" หมายถึง ท้าวเวสสุวัณ มีคทาเป็นอาวุธ ส่วนแถวในซึ่งต่อจากด้านขวา อ่าน ว่า สัจจาฏิฐานะ เมตุเปกขา ยุธายะโว หมายถึง ให้มีเมตตา อุเบกขา เป็นอวุธปาบกิเลส
   
                ด้านซ้ายของผู้อ่าน อ่านว่า "อาฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง" หมายถึง อาฬะวักกัสสะ มีบวงเป็นอาวุธ  ส่วนแถวในซึ่ง่อจากด้านล่าง อ่านว่า ตันหะถะสัพพะศัตรูปะลายีนติ หมายถึง ทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ 


ลายมือจารหลวงปู่มีค่า


                นายณรงค์ศักดิ์ พวงกุหลาบ หรือ “บอย บีเอฟซี ๙๙” เจ้าของธุรกิจเกี่ยวผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพ ผู้สะสมเหรียญหลวงปู่บัว บอก ว่า เหรียญนี้ถือว่ารุ่น ๑ ของหลวงปู่บัว มีการสร้างออกมา ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองคำสร้างไม่ไม่เกิน ๑๐ เหรียญ ใครอยากได้เนื้อนี้ต้องขอในยุคนั้นต้องขออนุญาตเอง ส่วนเนื้อทองแดงนั้นสร้างประมาณ ๒๐,๐๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงมี ๒ บล็อก คือ บล็อกธรรมดา กับ บล็อกแก้มขีดหรือคอขีด
   
                ความพิเศษของเหรียญรุ่นนี้ คือ เหรียญ ที่มีการจารมือของหลวงปู่บัว ราคาอยู่ที่ ๓-๕ หมื่นบาท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับยุคและจำนวนตัวอักขระที่จารด้วย ยิ่งจารมากราคายิ่งแพง เหรียญสวยไม่มีจารถูกกว่าเหรียญไม่สวยแต่มีจาร แต่ถาสวยและมีจารราคาอยู่ในหลักไม่ต่ำกว่า ๓ หมื่น ซึ่งนับวันจะหายากขึ้น
   
                สำหรับลายมือจารของหลวงปู่นั้นถ้าเป็นตัวเดียวท่านจะจารตัว "นะ" ซึ่งหมายถึง “ปัจจะพุทธามหามุณี” หรือบางสำนักใช้ว่า “นะกาโร พระกุกุสันโท จงมาบังเกิดเป็น นะ” ในกรณีของตัว นะ นั้น มีมากถึง ๑๐๘ ตัว ซึ่งแต่ละตัวมีพุทธคุณแตกต่างกัน


                ถ้าจาร ๓ ตัว ส่วนใหญ่จะเป็น "มะ อะ อุ"  เรียกอีกชื่อว่า หัวใจตรีเพชร ฯ 
   
                มะ เป็นตัวแทน พระพุทธ มาจาก มนุสสานํ พุธ์โธ ภควาติ ฯ
   
                อะ เป็นตัวแทน พระธรรม มาจาก อกาลิโก เอหิปัส์สิโก โอปะนะยิโก ฯ
   
                อุ เป็นตัวแทน พระสงฆ์ มาจาก อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ฯ
   
                ส่วนเหรียญที่มีลายมือจารของหลวงปู่ ท่านจารด้วยยันต์ "พระเจ้า ๕ พระองค์" ที่ว่า "นะ โมะ พุท ธา ยะ" เป็นการเขียนโดยใช้ ตัวย่อนามพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ คือ
   
                นะ หมายถึง พระกุกกุสันโธ ใช้เขียนแทน ธาตุน้ำ ซึ่งเรียกว่า อาโปธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๑๒
   
                โม หมายถึง พระโกนาคม ใช้เขียนแทน ธาตุดิน ซึ่งเรียกว่า ปฐวีธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๒๑
   
                พุท หมายถึง พระกัสสป ใช้เขียนแทน ธาตุไฟ ซึ่งเรียกว่า เดโชธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๖
   
                ธา หมายถึง พระสมณะโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ใช้เขียนแทน ธาตุลม ซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๗
   
                ยะ หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย์ (พระพุทธเจ้าองค์ถัดไป หลัง พ.ศ.๕๐๐๐) ใช้เขียนแทน อากาศธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๑๐ เมื่อรวมกำลังธาตุทั้ง ๕ ก็จะเป็นคุณพระพุทธเจ้า ๕๖

รายละเอียดจากหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก

http://www.komchadluek.net/detail/20120806/136963/

 
ผู้ตั้งกระทู้ มรดกคุณแม่บุญเรือน :: วันที่ลง 1/09/2556 09:52:04 จำนวนอ่าน : 27735

 
กรุณาใส่ให้ครบตามที่เครื่องหมาย * ระบ
:: แสดงความคิดเห็นได้ที่นี่ ::
ชื่อผู้ตอบ
กรุณากรอกข้อมูล*
Email
 
  พิมพ์อักขระ ตามที่คุณเห็นในภาพ
  กรุณาเข้าสู่ระบบ